ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ ตั้งแต่นักเรียนจนไปถึงการทำงาน
โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบ การทำงาน และเครือข่ายการสื่อสาร นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไป ตามความสามารถในการสื่อสาร ของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย
ดังนั้นเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) จึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
แนวความคิด
การเรียนรู้เป็นกระบบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน
หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1.การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
2.การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
3.การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
4.การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด
การเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความเจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Source :
แหล่งที่มา 1 2educationinnovation
แหล่งที่มา 2 supoldee
แหล่งที่มา 3 Global Tesol College
บล็อครวมข้อมูลเนื้อหารายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอน Innovation and Educational Technology
วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557
3.1 แหล่งการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้ คือ แหล่งข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ซึ่งแหล่งเรียนรู้นั้น...อาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน ที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่จำเ็ป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับการประเมินผลในชั้นหรือห้องเรียน
Source :
แหล่งที่มา 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ
แหล่งที่มา 2 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี
แหล่งที่มา 3 GotoKnow
ซึ่งแหล่งเรียนรู้นั้น...อาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน ที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่จำเ็ป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับการประเมินผลในชั้นหรือห้องเรียน
Source :
แหล่งที่มา 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ
แหล่งที่มา 2 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี
แหล่งที่มา 3 GotoKnow
9 Emerging Educational Technologies
9 Emerging Educational Technologies
Emerging ในความหมายตามดิกชันนารี มีความหมายว่า "อุบัติใหม่" หรือ "เกิดใหม่"
ดังนั้น...Emerging Educational Technologies จึงหมายถึง "เทคโนโลยีใหม่ทางการศึกษา"
ซึ่งมีทั้งหมด 9 แบบด้วยกัน ได้แก่
9 Emerging Educational Technologies
1. Cloud Computing : ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
2. Mobile Learning : การเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สายหรือ Wireless
3. Tablet Computing : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
4. MOOCs : Massive Open Online Courses หรือการเรียนการสอนออนไลน์
5. Open Content : เป็นการเปิดเผยเนื้อหาอย่างกว้างขวาง ที่ผู้อื่นสามารถคัดลอก หรือแก้ไขบทความได้อย่างอิสระเสรี ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Wikipedia
6. Games and Gamification : คือ App สำหรับการสร้างเกม ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการตลาดออนไลน์ ที่ใช้เกมหรือรางวัลต่างๆ ในการจูงใจผู้เล่น ซึ่งเป็นการประยุกต์แนวคิดแบบเกมมาใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่เกม เช่นการเรียนการสอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
7. 3D Printer : เครื่องพิมพ์แบบ3มิติ
8. Virtual and Remote Laboratories : การเรียนรู้ระยะไกล ที่ผู้ใช้สามารถทำการทดลองหรือเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอยู่ใกล้กับอุปกรณ์จริง
9. Wearable Technology : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถสวมใส่ได้ เช่น แว่นตา Google Glass
จากนี้ไปจะขอลงรายละเอียด 4 หัวข้อที่เจ้าของบล็อคสนใจนะคะ (ฮา)
1. Mobile Learning
Mobile Learning หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า M-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย หรือที่เรียกว่า Wireless ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ หรือสาย LAN ในการเชื่อมต่อ เพียงแค่มีอุปกรณ์รับสัญญาณ และสัญญาณ Wireless เท่านั้น
และอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดก็เห็นจะเป็น โทรศัพท์มือถือ Mobile Phone ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน และปัจจุบันโทรศัพท์มือถือก็ได้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของ Smart Phone ที่เป็นระบบจอสัมผัส มีหน้าจอที่กว้างมากขึ้น ทำให้สามารถค้นหาข้อมูล หรืออ่านข้อมูลผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกมากขึ้น เนื่องจากโทรศัพท์มือถือมีราคาถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค และง่ายต่อการพกพา
แต่เทคโนโลยีชนิดนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า หน้าจอโทรศัพท์มีขนาดเล็ก อาจทำให้ไม่สามารถเห็นเนื้อหาหรือรูปภาพอย่างชัดเจน รวมถึงข้อจำกัดในการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ
Source :
แหล่งที่มา 1 Blookings
แหล่งที่มา 2 Gooplata
แหล่งที่มา 3 Wikipedia
2. Tablet Computing
Tablet Computing เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน แต่จะมีหน้าจอที่ใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือและพกพาง่ายกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
ในวงการศึกษามีการทำ Tablet มาใช้ในการเรียนการสอน เพราะว่าสื่อมัลติมิเดียมีความน่าสนใจมากกว่าหนังสือเรียนธรรมดา เพราะมีทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีลูกเล่นต่างๆ มากมาย เช่น เกม หรือแบบฝึกหัดต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียน
Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Education Techonology Debate
แหล่งที่มา 3 Tablet D
3. 3D Printer
3D Printer เป็นความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งมีการทำงานเหมือนเครื่องปริ้นส์เตอร์ทั่วๆ ไป ที่รับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านการประมวลผล และแสดงผลออกมาบนหน้ากระดาษ แต่ทว่าผลงานหรือชิ้นงานที่ได้จาก 3D Printer หรือเครื่องปริ้นส์ 3มิติ จะมีรูปชิ้นงานเสมือนจริง หรือออกมาในรูปแบบของโมเดล โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาปั้นโมเดลดังกล่าวด้วยตัวเอง
ซึ่งกระบวนการพิมพ์นั้นจะเกิดจากสร้างวัสดุของแข็งด้วยคำสั่งดิจิตัล โดยจะมีการสร้างเป็นชั้นๆ จนเกิดเป็นรูปร่างในที่สุด
Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 3D Printing
แหล่งที่มา 3 Maximumdev
4. Virtual and Remote Laboratories
Virtual and Remote Laboratories เป็นการเรียนรู้เสมือนจริง ที่ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปเรียนที่สถาบันต่างๆ ซึ่งการเรียนแบบนี้ ห้องเรียนดังกล่าวจะมีลักษณะการจำลองบรรยากาศในห้องเรียนที่เสมือนจริง หรือมีการทดลองโดยอาศัยการสั่งคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์ตัวกลาง หรือเรียนผ่านหน้าเว็บแคมของห้องเรียนเสมือนจริงดังกล่าว ซึ่งมีทั้งความสะดวกสบายและความปลอดภัย อีกทั้งผู้เรียนสามารถเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนจริงได้ทุกที่ทุกเวลา
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Remote Laboratories
แหล่งที่มา 3 Horizon Project
Emerging ในความหมายตามดิกชันนารี มีความหมายว่า "อุบัติใหม่" หรือ "เกิดใหม่"
ดังนั้น...Emerging Educational Technologies จึงหมายถึง "เทคโนโลยีใหม่ทางการศึกษา"
ซึ่งมีทั้งหมด 9 แบบด้วยกัน ได้แก่
9 Emerging Educational Technologies
1. Cloud Computing : ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
2. Mobile Learning : การเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สายหรือ Wireless
3. Tablet Computing : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
4. MOOCs : Massive Open Online Courses หรือการเรียนการสอนออนไลน์
5. Open Content : เป็นการเปิดเผยเนื้อหาอย่างกว้างขวาง ที่ผู้อื่นสามารถคัดลอก หรือแก้ไขบทความได้อย่างอิสระเสรี ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Wikipedia
6. Games and Gamification : คือ App สำหรับการสร้างเกม ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการตลาดออนไลน์ ที่ใช้เกมหรือรางวัลต่างๆ ในการจูงใจผู้เล่น ซึ่งเป็นการประยุกต์แนวคิดแบบเกมมาใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่เกม เช่นการเรียนการสอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
7. 3D Printer : เครื่องพิมพ์แบบ3มิติ
8. Virtual and Remote Laboratories : การเรียนรู้ระยะไกล ที่ผู้ใช้สามารถทำการทดลองหรือเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอยู่ใกล้กับอุปกรณ์จริง
9. Wearable Technology : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถสวมใส่ได้ เช่น แว่นตา Google Glass
จากนี้ไปจะขอลงรายละเอียด 4 หัวข้อที่เจ้าของบล็อคสนใจนะคะ (ฮา)
1. Mobile Learning
Mobile Learning หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า M-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย หรือที่เรียกว่า Wireless ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ หรือสาย LAN ในการเชื่อมต่อ เพียงแค่มีอุปกรณ์รับสัญญาณ และสัญญาณ Wireless เท่านั้น
และอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดก็เห็นจะเป็น โทรศัพท์มือถือ Mobile Phone ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน และปัจจุบันโทรศัพท์มือถือก็ได้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของ Smart Phone ที่เป็นระบบจอสัมผัส มีหน้าจอที่กว้างมากขึ้น ทำให้สามารถค้นหาข้อมูล หรืออ่านข้อมูลผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกมากขึ้น เนื่องจากโทรศัพท์มือถือมีราคาถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค และง่ายต่อการพกพา
แต่เทคโนโลยีชนิดนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า หน้าจอโทรศัพท์มีขนาดเล็ก อาจทำให้ไม่สามารถเห็นเนื้อหาหรือรูปภาพอย่างชัดเจน รวมถึงข้อจำกัดในการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ
Source :
แหล่งที่มา 1 Blookings
แหล่งที่มา 2 Gooplata
แหล่งที่มา 3 Wikipedia
2. Tablet Computing
Tablet Computing เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน แต่จะมีหน้าจอที่ใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือและพกพาง่ายกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
ในวงการศึกษามีการทำ Tablet มาใช้ในการเรียนการสอน เพราะว่าสื่อมัลติมิเดียมีความน่าสนใจมากกว่าหนังสือเรียนธรรมดา เพราะมีทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีลูกเล่นต่างๆ มากมาย เช่น เกม หรือแบบฝึกหัดต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียน
Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Education Techonology Debate
แหล่งที่มา 3 Tablet D
3. 3D Printer
3D Printer เป็นความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งมีการทำงานเหมือนเครื่องปริ้นส์เตอร์ทั่วๆ ไป ที่รับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านการประมวลผล และแสดงผลออกมาบนหน้ากระดาษ แต่ทว่าผลงานหรือชิ้นงานที่ได้จาก 3D Printer หรือเครื่องปริ้นส์ 3มิติ จะมีรูปชิ้นงานเสมือนจริง หรือออกมาในรูปแบบของโมเดล โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาปั้นโมเดลดังกล่าวด้วยตัวเอง
ซึ่งกระบวนการพิมพ์นั้นจะเกิดจากสร้างวัสดุของแข็งด้วยคำสั่งดิจิตัล โดยจะมีการสร้างเป็นชั้นๆ จนเกิดเป็นรูปร่างในที่สุด
Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 3D Printing
แหล่งที่มา 3 Maximumdev
4. Virtual and Remote Laboratories
Virtual and Remote Laboratories เป็นการเรียนรู้เสมือนจริง ที่ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปเรียนที่สถาบันต่างๆ ซึ่งการเรียนแบบนี้ ห้องเรียนดังกล่าวจะมีลักษณะการจำลองบรรยากาศในห้องเรียนที่เสมือนจริง หรือมีการทดลองโดยอาศัยการสั่งคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์ตัวกลาง หรือเรียนผ่านหน้าเว็บแคมของห้องเรียนเสมือนจริงดังกล่าว ซึ่งมีทั้งความสะดวกสบายและความปลอดภัย อีกทั้งผู้เรียนสามารถเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนจริงได้ทุกที่ทุกเวลา
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Remote Laboratories
แหล่งที่มา 3 Horizon Project
และรายละเอียดของเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ
Cloud Computing ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "ระบบประมวลผลแบบก้อนเมฆ" หรือเป็นการรวบรวมทรัพยากรต่างๆ มารวมกันเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้เรียกหาข้อมูลที่ต้องการ ส่วนกลางของระบบนี้ก็จะทำการจัดสรรข้อมูลมาให้ตามความต้องการของผู้ใช้ทันที
แหล่งที่มา Compsport
MOOCs ย่อมากจาก Massive Open Online Courses คือการเรียนการสอนผ่านทางระบบออนไลน์ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีผู้เข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมาก
มีความแตกต่างจาก e-learning ตรงที่ว่า e-learning จะเป็นเครือข่ายแบบจำกัด แต่ MOOCs นั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วทุกมุมของโลก ในคล้ายกับการเรียนผ่านเว็บไซต์อย่าง YouTube แต่ MOOCs นั้นผู้เรียนสามารถทำการโต้ตอบกับผู้สอนได้ทันที
แหล่งที่มา elearning108
Cloud Computing ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "ระบบประมวลผลแบบก้อนเมฆ" หรือเป็นการรวบรวมทรัพยากรต่างๆ มารวมกันเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้เรียกหาข้อมูลที่ต้องการ ส่วนกลางของระบบนี้ก็จะทำการจัดสรรข้อมูลมาให้ตามความต้องการของผู้ใช้ทันที
แหล่งที่มา Compsport
MOOCs ย่อมากจาก Massive Open Online Courses คือการเรียนการสอนผ่านทางระบบออนไลน์ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีผู้เข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมาก
มีความแตกต่างจาก e-learning ตรงที่ว่า e-learning จะเป็นเครือข่ายแบบจำกัด แต่ MOOCs นั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วทุกมุมของโลก ในคล้ายกับการเรียนผ่านเว็บไซต์อย่าง YouTube แต่ MOOCs นั้นผู้เรียนสามารถทำการโต้ตอบกับผู้สอนได้ทันที
แหล่งที่มา elearning108
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)