ประวัติวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเดิมเป็นโรงเรียนเรียกว่า 'โรงเรียนประถมช่างไม้' โรงเรียนนี้เป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนประชาบาล ตำบลในเมือง 'วัดสระแก้ว' รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาปัที่ 6 วิชาที่เรียนมีวิชาช่างไม้และสามัญ เมื่อแรกตั้งโรงเรียนนี้ดำนงอยู่ด้วยเงินประถมศึกษา เมื่อนักเรียนสอบไล่ได้ปีที่ 6 แล้วนับว่าเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 42 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 508 ถนนสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044-242002 โทรสาร 044-254950 หรือ www.ntc.ac.th
สัญลักษณ์วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
เป็นรูปเสมาธรรมจักร ประกอบด้วย ทุ ส นิ ม
ทุ หมายถึง ทุกข์
ส หมายถึง สมุทัย
นิ หมายถึง นิโรธ
ม หมายถึง มรรค
อยู่ภายในวงกลม วงในล้อมรอบด้วยวงกลมนอกระหว่างวงกลมด้านบนมีคำว่า 'วิทยาลัยเทคนิค' ด้านล่างมีคำว่า 'นครราชสีมา' ดาวน์โหลดสัญลักษณ์
สีประจำวิทยาลัย
นำเงิน - ขาว
วัตถุประสงค์ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมและสาขาวิชาพณิชยการ ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม จัดฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นและหลักศุตรพิเศษ ให้บริการชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่าง ๆ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หลักสูตรที่เปิดสอน
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ประเภทวิชาที่เปิดสอน
วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาได้จัดการศึกษาวิชาชีพภาคปกติ และการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ดังนี้
1. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 6 สาขาวิชา
รับนักเรียนจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อหลักสูตร 3 ปี ดังนี้
1. สาขาวิชาเครื่องกล
- สาขางานยานยนต์
2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
- สาขางานเครื่องมือกล
- สาขางานเขียนเครื่องกล
3. สาขาวิชาโลหะการ
- สาขางานเชื่อมโลหะ
4. สาขาวิชางานไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
- สาขางานไฟฟ้ากำลัง
- สาขาอิเล็กทรอนิกส์
- สาขางานแมคคาทรอนิกส์
5. สาขาวิชาก่อสร้าง
- สาขางานก่อสร้าง
- สาขางานสถาปัตยกรรม
6. สาขาวิชาพณิชยการ
- สาขางานการบัญชี
- สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
2. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 11 สาขาวิชา
รับนักเรียนจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. , มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาระยะเวลา 2 ปี ดังนี้
1. สาขาวิชาเครื่องกล
- สาขางานเทคนิคยานยนต์
- สาขางานเทคโนโลยีการบริการรถยนต์
2. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
- สาขางานเครื่องมือกล
- สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก
- สาขางานแม่พิมพ์โลหะ
3. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
- สาขางานเทคนิคการเชื่อมโลหะ
4. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
- สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
- สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า
- สาขางบานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
5. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
- สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
- สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
- สาขางานระบบโทรคมนาคม
6. สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์
- สาขาแมคคาทรอนิกส์
7. สาขาเทคนิคอุตสาหกรรม
- สาขางานอุตสาหกรรมการผลิต
8. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
- สาขางานออกแบบและเขียนแบบการผลิต
9. สาขาวิชาการก่อสร้าง
- สาขางานเทคนิคก่อสร้าง
10.สาขาวิชาโยธา
- สาขางานโยธา
11.สาขาวิชาการบัญชี
- สาขางานการบัญชี
- สาขางานคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่รู้จักในชื่อว่า IT มาจากคำสองคำรวมกัน ดังนี้
เทคโนโลยี (Technology)
หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง
สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง เป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
ฐานข้อมูล
คือ กลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ซึ่งวิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ
e-learning(electronic learning)
หรือบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร หรือเนื้อหาการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์ และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้ ซึ่งในปัจจุบันสถานการศึกษาหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัย นิยมใช้การเรียนการสอนแบบ e-learning มากขึ้น
วัตถุประสงค์ในการใช้ e-learning
1. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้สอน รวมทั้งผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาการเรียนการสอนได้ง่าย อีกทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2. เพื่อเป็นการตอบสนองผู้เรียน ผู้สอนที่ไม่พร้อมทางด้านเวลา และการเดินทางมาเรียนที่สถานศึกษา
3. เพื่อเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการตอบคำถามในห้องเรียน เนื่องจากไม่ต้องการแสดงตนต่อหน้าผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้น
4. เพื่อเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทดแทนการเรียนในห้องเรียน
5. เพื่อที่ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง แม้จะไม่ได้เรียนในห้องเรียน
วิธีการดำเนินการ
1. ปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้บริหารสถานศึกษา
2.ประชุมกลุ่มหัวหน้างานประจำแผนกวิชาต่างๆ และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.สำรวจ และสอบถามข้อมูล
4.แบ่งงานและค้นหาข้อมูลเนื้อหาที่จัดทำ e-learning
5.ติดต่อองค์กรภายนอก เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกฝ่าย
6.ประชุมวางแผนปฏิบัติงานเบื้องต้น
7.ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
8.ประเมิณผลการปฏิบัติงาน
สรุปผล
จากข้อมูลแบบสอบถามพบว่า
1. กิจกรรมที่กำหนดไว้ในบทเรียน ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เรียน
2. เนื้อหาของบทเรียนสามารถตอบสนองการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนได้
3. การทดสอบในบทเรียน มีการแจ้งผลทำให้ผู้เรียนทราบ เพื่อที่จะนำไปพัฒนาตนเองได้
4.เนื้อหาการเรียนการสอนมีความแปลกใหม่ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ข้อควรปรับปรุง
1. มีข้อจำกัดในเรื่องของการเข้าถึงระบบเครือข่าย เนื่องจากว่าหากมีการเข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ทำให้ระบบเครือข่ายล่ม
2. ผู้เรียนจำนวนหนึ่ง ไม่พร้อมทางด้านอุปกรณ์ การเข้าถึงเครือข่ายออนไลน์
3. เนื้อหาของบทเรียนไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน
1. นายคมราช งาคม 57410003
2. นางสาวรชญา อำนาจอารีย์ 57410017