วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

PLN (Personal Learning Network)

PLN (Personal Learning Network)
คือ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลผ่าน Social Nework ต่างๆ 
ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Blog เป็นต้น



ซึ่งลักษณะของเครือข่ายดังกล่าวนั้น...
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล




Social Network : ในด้านของการเรียนการสอน สามารถใช้ติดต่อ พูดคุยระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
หรือแม้กระทั่งอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ ในหลากหลายแง่มุม 
          Facebook - ติดต่อพูดคุย แจ้งข่าวสาร หรือติดตามพฤติกรรมส่วนตัวของผู้เรียน
          Line - ติดต่อพูดคุย เช่นเดียวกับเฟสบุ๊ค แต่จะใช้ได้ง่ายกว่าหากติดต่อผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน
          Twitter - ติดตามอัพเดทข่าวสารต่างๆ จากผู้ใช้หลากหลายเชื้อชาติ 


E-mail : ส่งงานผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หากข้อมูลหรือเนื้อหางานยังไม่ชัดเจน ผู้เรียนสามารถกลับไปแก้ไขและส่งงานใหม่โดยที่ไม่ต้องปริ้นซ์เอกสาร เพื่อเป็นการลดปริมาณของกระดาษ 
ซึ่งอีเมล์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ Gmail และ Hotmail


Download : แหล่งจัดเก็บหรือดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลเอกสารเนื้อหาการเรียน รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ผู้สอนใช้ในห้องเรียน แทนการโอนย้ายข้อมูลโดยใช้แฟลชไดร์ฟ ซึ่งการดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยลดการติดไวรัสคอมพิวเตอร์โดยตรง 
เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการจัดเก็บหรือดาวน์โหลดข้อมูล เช่น Dropbox หรือ MediaFile


Multimedia : แหล่งโซเชี่ยลมีเดีย รวมสื่อวิดิโอต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน 
          NicoNico - เปรียบเสมือน Youtube ของญี่ปุ่น สื่อด้านภาษาญี่ปุ่นที่หลากหลาย
          Youtube - ศูนย์รวมวิดีโอต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก


Search engine : เว็บกลางที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อจัดทำการเรียนการสอน ผ่านเว็บเบราท์เซอร์อย่าง google chrome, Firefox หรือ Internet explorer
ซึ่งเว็บเสิร์ท เอนจิ้นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Bing, Google และ Yahoo


Blog : พื้นที่ส่วนตัวที่ผู้ใช้สามารถเขียนข้อมูล แทรกรูปภาพ หรือไฟล์ต่างๆ ได้ตามความต้องการ 
เปรียบเสมือนสมุดการบ้านบนโลกออนไลน์ ผู้เรียนสามารถทำงานส่งผ่านหน้าบล็อค 
อีกทั้งยังสามารถตกแต่งบล็อคของตัวเองให้สวยงาม 
          Exteen - เว็บบล็อคสัญชาติไทย มีคำสั่งภาษาไทย เข้าใจง่าย
          Fc2 - เว็บบล็อคสัญชาติญี่ปุ่น มีรูปแบบ Theme น่ารักสไตล์ญี่ปุ่น
          Wordpress - เว็บบล็อคสัญชาติอเมริกา มีรูปแบบ Theme หลากหลายตามความชอบแต่ละบุคคล



เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
           
            วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเดิมเป็นโรงเรียนเรียกว่า 'โรงเรียนประถมช่างไม้' โรงเรียนนี้เป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนประชาบาล ตำบลในเมือง 'วัดสระแก้ว' รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาปัที่ 6 วิชาที่เรียนมีวิชาช่างไม้และสามัญ เมื่อแรกตั้งโรงเรียนนี้ดำนงอยู่ด้วยเงินประถมศึกษา เมื่อนักเรียนสอบไล่ได้ปีที่ 6 แล้วนับว่าเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์
             วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 42 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 508 ถนนสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044-242002 โทรสาร 044-254950 หรือ www.ntc.ac.th



สัญลักษณ์วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
             เป็นรูปเสมาธรรมจักร ประกอบด้วย ทุ ส นิ ม
                  ทุ  หมายถึง ทุกข์
                  ส  หมายถึง  สมุทัย
                  นิ  หมายถึง  นิโรธ
                  ม  หมายถึง  มรรค
             อยู่ภายในวงกลม วงในล้อมรอบด้วยวงกลมนอกระหว่างวงกลมด้านบนมีคำว่า 'วิทยาลัยเทคนิค' ด้านล่างมีคำว่า 'นครราชสีมา'  ดาวน์โหลดสัญลักษณ์



สีประจำวิทยาลัย
             นำเงิน - ขาว



วัตถุประสงค์ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
             เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมและสาขาวิชาพณิชยการ ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม จัดฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นและหลักศุตรพิเศษ ให้บริการชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่าง ๆ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม



หลักสูตรที่เปิดสอน
       1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
       2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)



ประเภทวิชาที่เปิดสอน
       วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาได้จัดการศึกษาวิชาชีพภาคปกติ และการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ดังนี้
       1. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 6 สาขาวิชา
           รับนักเรียนจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาต่อหลักสูตร 3 ปี ดังนี้
           1. สาขาวิชาเครื่องกล
               -  สาขางานยานยนต์
           2. สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง
               - สาขางานเครื่องมือกล
               - สาขางานเขียนเครื่องกล
           3. สาขาวิชาโลหะการ
               - สาขางานเชื่อมโลหะ
           4. สาขาวิชางานไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
               - สาขางานไฟฟ้ากำลัง
               - สาขาอิเล็กทรอนิกส์
               - สาขางานแมคคาทรอนิกส์
           5. สาขาวิชาก่อสร้าง
               - สาขางานก่อสร้าง
               - สาขางานสถาปัตยกรรม
           6. สาขาวิชาพณิชยการ
               - สาขางานการบัญชี
               - สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

       2. หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 11 สาขาวิชา
            รับนักเรียนจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. , มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาระยะเวลา 2 ปี ดังนี้
           1. สาขาวิชาเครื่องกล
               - สาขางานเทคนิคยานยนต์
               - สาขางานเทคโนโลยีการบริการรถยนต์
           2. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
               - สาขางานเครื่องมือกล
               - สาขางานแม่พิมพ์พลาสติก
               - สาขางานแม่พิมพ์โลหะ
           3. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
               - สาขางานเทคนิคการเชื่อมโลหะ
           4. สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
               - สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
               - สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า
               - สาขางบานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
           5. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
               - สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
               - สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
               - สาขางานระบบโทรคมนาคม
           6. สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์
               - สาขาแมคคาทรอนิกส์
           7. สาขาเทคนิคอุตสาหกรรม
               - สาขางานอุตสาหกรรมการผลิต
           8. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
               - สาขางานออกแบบและเขียนแบบการผลิต
           9. สาขาวิชาการก่อสร้าง
               - สาขางานเทคนิคก่อสร้าง
        10.สาขาวิชาโยธา        
               - สาขางานโยธา
        11.สาขาวิชาการบัญชี
               - สาขางานการบัญชี

               - สาขางานคอมพิวเตอร์



เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่รู้จักในชื่อว่า IT มาจากคำสองคำรวมกัน ดังนี้

เทคโนโลยี (Technology) 
             หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง

สารสนเทศ (Information) 
             หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง เป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

             ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการ สารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย



ฐานข้อมูล
             คือ กลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล
ซึ่งวิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ



e-learning(electronic learning) 
             หรือบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยกำหนดแต่ละหลักสูตร หรือเนื้อหาการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มีทั้งระบบการเรียนแบบทางไกลสำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์ และสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าร่วมเรียนในห้องเรียนได้ ซึ่งในปัจจุบันสถานการศึกษาหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัย นิยมใช้การเรียนการสอนแบบ e-learning มากขึ้น



วัตถุประสงค์ในการใช้ e-learning
           1. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้สอน รวมทั้งผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาการเรียนการสอนได้ง่าย อีกทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดเวลา และสถานที่
           2. เพื่อเป็นการตอบสนองผู้เรียน ผู้สอนที่ไม่พร้อมทางด้านเวลา และการเดินทางมาเรียนที่สถานศึกษา
           3. เพื่อเป็นการเอื้ออำนวยสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการตอบคำถามในห้องเรียน เนื่องจากไม่ต้องการแสดงตนต่อหน้าผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้น
           4. เพื่อเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ทดแทนการเรียนในห้องเรียน
           5. เพื่อที่ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง แม้จะไม่ได้เรียนในห้องเรียน



วิธีการดำเนินการ
           1. ปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้บริหารสถานศึกษา
           2.ประชุมกลุ่มหัวหน้างานประจำแผนกวิชาต่างๆ และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
           3.สำรวจ และสอบถามข้อมูล
           4.แบ่งงานและค้นหาข้อมูลเนื้อหาที่จัดทำ e-learning
           5.ติดต่อองค์กรภายนอก เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกฝ่าย
           6.ประชุมวางแผนปฏิบัติงานเบื้องต้น
           7.ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
           8.ประเมิณผลการปฏิบัติงาน



สรุปผล
จากข้อมูลแบบสอบถามพบว่า
           1. กิจกรรมที่กำหนดไว้ในบทเรียน ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เรียน
           2. เนื้อหาของบทเรียนสามารถตอบสนองการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนได้
           3. การทดสอบในบทเรียน มีการแจ้งผลทำให้ผู้เรียนทราบ เพื่อที่จะนำไปพัฒนาตนเองได้
           4.เนื้อหาการเรียนการสอนมีความแปลกใหม่ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ข้อควรปรับปรุง
           1. มีข้อจำกัดในเรื่องของการเข้าถึงระบบเครือข่าย เนื่องจากว่าหากมีการเข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมากในเวลาเดียวกัน ทำให้ระบบเครือข่ายล่ม
           2. ผู้เรียนจำนวนหนึ่ง ไม่พร้อมทางด้านอุปกรณ์ การเข้าถึงเครือข่ายออนไลน์
           3. เนื้อหาของบทเรียนไม่มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน



จัดทำโดย
           1. นายคมราช       งาคม               57410003
           2. นางสาวรชญา  อำนาจอารีย์     57410017

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

3.2 เครือข่ายการเรียนรู้

          ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ ตั้งแต่นักเรียนจนไปถึงการทำงาน
โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบ การทำงาน และเครือข่ายการสื่อสาร นอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไป ตามความสามารถในการสื่อสาร ของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย

          ดังนั้นเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) จึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

แนวความคิด
          การเรียนรู้เป็นกระบบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้
          การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้

          1.การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
          2.การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
          3.การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
          4.การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด

          การเรียนรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้นสำหรับบุคคลและความเจริญของชาติ ด้วยการเรียนรู้เป็นสื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และทักษะซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่แต่ละบุคคลสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วนเครือข่ายการเรียนรู้ก็เป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครือข่ายเป็นระบบการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล หน่วยงาน องค์กร สถาบันเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการภารกิจให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Source :
แหล่งที่มา 1 2educationinnovation
แหล่งที่มา 2 supoldee
แหล่งที่มา 3 Global Tesol College

3.1 แหล่งการเรียนรู้

          แหล่งเรียนรู้ คือ แหล่งข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวาง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

          ซึ่งแหล่งเรียนรู้นั้น...อาจเป็นสภาพ สถานที่ หรือศูนย์รวมที่ประกอบด้วย ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน ที่มีรูปแบบแตกต่างจากกระบวนการเรียนการสอนที่มีครูเป็นผู้สอน หรือศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีกำหนดเวลาเรียนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียน การประเมินและการวัดผลการเรียนมีลักษณะเฉพาะที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่จำเ็ป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันกับการประเมินผลในชั้นหรือห้องเรียน


Source :
แหล่งที่มา 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ
แหล่งที่มา 2 โรงเรียนสุราษฏร์ธานี
แหล่งที่มา 3 GotoKnow

9 Emerging Educational Technologies

9 Emerging Educational Technologies

Emerging ในความหมายตามดิกชันนารี มีความหมายว่า "อุบัติใหม่" หรือ "เกิดใหม่"
ดังนั้น...Emerging Educational Technologies จึงหมายถึง "เทคโนโลยีใหม่ทางการศึกษา"

ซึ่งมีทั้งหมด 9 แบบด้วยกัน ได้แก่

9 Emerging Educational Technologies

1. Cloud Computing : ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
2. Mobile Learning : การเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สายหรือ Wireless
3. Tablet Computing : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด
4. MOOCs : Massive Open Online Courses หรือการเรียนการสอนออนไลน์
5. Open Content : เป็นการเปิดเผยเนื้อหาอย่างกว้างขวาง ที่ผู้อื่นสามารถคัดลอก หรือแก้ไขบทความได้อย่างอิสระเสรี ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ Wikipedia
6. Games and Gamification : คือ App สำหรับการสร้างเกม ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการตลาดออนไลน์ ที่ใช้เกมหรือรางวัลต่างๆ ในการจูงใจผู้เล่น ซึ่งเป็นการประยุกต์แนวคิดแบบเกมมาใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่เกม เช่นการเรียนการสอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
7. 3D Printer : เครื่องพิมพ์แบบ3มิติ
8. Virtual and Remote Laboratories : การเรียนรู้ระยะไกล ที่ผู้ใช้สามารถทำการทดลองหรือเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องอยู่ใกล้กับอุปกรณ์จริง
9. Wearable Technology : เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถสวมใส่ได้ เช่น แว่นตา Google Glass

จากนี้ไปจะขอลงรายละเอียด 4 หัวข้อที่เจ้าของบล็อคสนใจนะคะ (ฮา)

1. Mobile Learning
     Mobile Learning  หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า M-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย หรือที่เรียกว่า Wireless ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ หรือสาย LAN ในการเชื่อมต่อ เพียงแค่มีอุปกรณ์รับสัญญาณ และสัญญาณ Wireless เท่านั้น
      และอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดก็เห็นจะเป็น โทรศัพท์มือถือ Mobile Phone ซึ่งเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน และปัจจุบันโทรศัพท์มือถือก็ได้เปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของ Smart Phone ที่เป็นระบบจอสัมผัส มีหน้าจอที่กว้างมากขึ้น ทำให้สามารถค้นหาข้อมูล หรืออ่านข้อมูลผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกมากขึ้น เนื่องจากโทรศัพท์มือถือมีราคาถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ค และง่ายต่อการพกพา
      แต่เทคโนโลยีชนิดนี้ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า หน้าจอโทรศัพท์มีขนาดเล็ก อาจทำให้ไม่สามารถเห็นเนื้อหาหรือรูปภาพอย่างชัดเจน รวมถึงข้อจำกัดในการดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ

Source :
แหล่งที่มา 1 Blookings
แหล่งที่มา 2 Gooplata
แหล่งที่มา 3 Wikipedia

2. Tablet Computing
     Tablet Computing เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน แต่จะมีหน้าจอที่ใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือและพกพาง่ายกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
     ในวงการศึกษามีการทำ Tablet มาใช้ในการเรียนการสอน เพราะว่าสื่อมัลติมิเดียมีความน่าสนใจมากกว่าหนังสือเรียนธรรมดา เพราะมีทั้งภาพและเสียงเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีลูกเล่นต่างๆ มากมาย เช่น เกม หรือแบบฝึกหัดต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียน

Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Education Techonology Debate
แหล่งที่มา 3 Tablet D

3. 3D Printer
     3D Printer เป็นความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งมีการทำงานเหมือนเครื่องปริ้นส์เตอร์ทั่วๆ ไป ที่รับคำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านการประมวลผล และแสดงผลออกมาบนหน้ากระดาษ แต่ทว่าผลงานหรือชิ้นงานที่ได้จาก 3D Printer หรือเครื่องปริ้นส์ 3มิติ จะมีรูปชิ้นงานเสมือนจริง หรือออกมาในรูปแบบของโมเดล โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาปั้นโมเดลดังกล่าวด้วยตัวเอง
     ซึ่งกระบวนการพิมพ์นั้นจะเกิดจากสร้างวัสดุของแข็งด้วยคำสั่งดิจิตัล โดยจะมีการสร้างเป็นชั้นๆ จนเกิดเป็นรูปร่างในที่สุด

Source :
แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 3D Printing
แหล่งที่มา 3 Maximumdev


4. Virtual and Remote Laboratories
     Virtual and Remote Laboratories เป็นการเรียนรู้เสมือนจริง ที่ผู้เรียนสามารถเรียนผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปเรียนที่สถาบันต่างๆ  ซึ่งการเรียนแบบนี้ ห้องเรียนดังกล่าวจะมีลักษณะการจำลองบรรยากาศในห้องเรียนที่เสมือนจริง หรือมีการทดลองโดยอาศัยการสั่งคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์ตัวกลาง หรือเรียนผ่านหน้าเว็บแคมของห้องเรียนเสมือนจริงดังกล่าว ซึ่งมีทั้งความสะดวกสบายและความปลอดภัย อีกทั้งผู้เรียนสามารถเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนจริงได้ทุกที่ทุกเวลา

แหล่งที่มา 1 Wikipedia
แหล่งที่มา 2 Remote Laboratories
แหล่งที่มา 3 Horizon Project


และรายละเอียดของเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ

     Cloud Computing ระบบประมวลผลที่จะจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "ระบบประมวลผลแบบก้อนเมฆ" หรือเป็นการรวบรวมทรัพยากรต่างๆ มารวมกันเพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้เรียกหาข้อมูลที่ต้องการ ส่วนกลางของระบบนี้ก็จะทำการจัดสรรข้อมูลมาให้ตามความต้องการของผู้ใช้ทันที

แหล่งที่มา Compsport

     MOOCs ย่อมากจาก Massive Open Online Courses คือการเรียนการสอนผ่านทางระบบออนไลน์ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีผู้เข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมาก
     มีความแตกต่างจาก e-learning ตรงที่ว่า e-learning จะเป็นเครือข่ายแบบจำกัด แต่ MOOCs นั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วทุกมุมของโลก ในคล้ายกับการเรียนผ่านเว็บไซต์อย่าง YouTube แต่ MOOCs นั้นผู้เรียนสามารถทำการโต้ตอบกับผู้สอนได้ทันที

แหล่งที่มา elearning108